วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรม KompoZer

เมื่อติดตั้งและเปิดโปรแกรม KompoZer จะปรากฏหน้าต่างดังรูป

        ส่วนประกอบหลักของหน้าต่างการใช้งานโปรแกรม KompoZer  มีรายละเอียดดังนี้
        1.  แถบเมนู  จะรวบรวมคำสั่งที่ใช้ในการจัดการเว็บเพจทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่ 
               ประกอบด้วย  File,  Edit,  View,  Insert,  Format,  Table,  Tools,  Help

2.  แถบเครื่องมือ  จะประกอบด้วยปุ่ม หรือ
     ไอคอนแทนคำสั่งที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ
     โดยไม่จำเป็นต้องคลิกเลือกคำสั่งจาก
     แถบเมนู เช่น การเปิดไฟล์ข้อมูล , การบันทึก
     ไฟล์ข้อมูล, การแทรกรูปภาพ เป็นต้น
         หากต้องการแสดงหรือซ่อน
     แถบเครื่องมือใดสามารถ คลิกเลือกได้ที่
     แถบเมนู View ->Show/Hide
     แล้วเลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการ
        3.  พื้นที่จัดการไซด์  เป็นส่วนที่ใช้ในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (เอกสารที่สร้างจากโปรแกรม KompoZer)  
             ไม่ว่า
จะเป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (Upload) หรือ 
             จะเป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นมาเก็๋บไว้ในเครื่องเรา (Download) ก็ตาม

        4.  พื้นที่แก้ไขข้อความ  เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างเอกสาร สามารถจัดรูปแบบของหน้าเว็บเพจตามต้องการ

        5.  โหมดการแสดงผล  แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
              -  Normal Mode  มีลักษณะเหมือนกับพื้นที่หน้ากระดาษเช่นเดียวกับในโปรแกรมประมวลผลคำทั่วไป
                  เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นการใช้งาน
              -  HTML Mode  มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Normal Mode แตกต่างเพียงจะมีสัญลักษณ์กำกับว่า
                  ในแต่ละส่วนได้มีการใช้โครงสร้างแท๊กของภาษา HTML ใด
              -  Source Mode  จะปรากฏรายละเอียดของการใช้โครงสร้างแท๊กของภาษา HTML ทั้งหมด 
                  เหมาะสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับการใช้งานโครงสร้างภาษา HTML เป็นอย่างดี
               - Preview  Mode  จะช่วยให้ผู้ใช้งานทราบว่า เมื่อเปิดเอกสารนี้บนเว็บบราวเซอร์ 
                  เว็บเพจนี้จะมีลักษณะอย่างไร

top


การสร้าง / เพิ่มเว็บเพจใหม่

        โดยปกติ เมื่อเปิดโปรแกรม KompoZer ขึ้นมาใช้งาน ก็จะปรากฏพื้นที่ในการแก้ไขข้อความ
หรือเอกสารใหม่ขึ้นมาให้โดยทันที  แต่หากผู้ใช้ต้องการเพิ่มเว็บเพจใหม่ สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

วิธีที่ 1วิธีที่ 2
เลือกเมนู File -> New จะปรากฏหน้าต่าง
Create a new document or template กำหนดรายละเอียดตามรูป
แล้วคลิกที่ปุ่ม Create

คลิกที่ปุ่ม New บนแถบเครื่องมือ
 

ไม่ว่าจะปฏิบัติตามวิธีที่ 1 หรือ วิธีที่ 2 จะปรากฏพื้นที่แก้ไขข้อความใหม่ ที่ชื่อว่า untitled ดังรูป
top

การเปิดเว็บเพจเดิมมาแก้ไข
     สามารถคลิกที่ปุ่ม  หรือคลิกเมนู  File -> Open File ค้นหาตำแหน่งที่เก็บไฟล์ข้อมูลไว้ หลังจากนั้นให้คลิกเลือกไฟล์ข้อมูล (ซึ่งจะมีลักษณะไอคอนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเลือกใช้เว็บบราว์เซอร์

เช่น  ใช้เว็บบราวเซอร์ Internet Explorer)


การปรับแต่งคุณสมบัติของเว็บเพจ
        เว็บเพจที่ดีจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานให้ครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการค้นหาข้อมูล 
และการแสดงผลที่สมบูรณ์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต        การกำหนดคุณสมบัติของหน้าเว็บเพจ สามารถทำได้โดยการเลือกเมนู Format -> Page Title and Properties... ซึ่งจะแสดงหน้าต่างดังนี้
      คุณสมบัติหลักที่ควรกำหนด

  • Title : เป็นการกำหนดชื่อเว็บเพจ ซึ่งจะปรากฏอยู่บนแถบชื่อเรื่องของ
    หน้าต่างเว็บบราวเซอร์
  • Author : เป็นการกำหนดชื่อของ
    ผู้ที่สร้างเว็บเพจนี้ขึ้นมา
  • Description :  เป็นการสรุปย่อ
    เพื่ออธิบายถึงเว็บเพจที่มีเนื้อความน้อย ๆ
  • Languague : ใช้ระบุภาษาใน
    การเขียนเว็บเพจ  ผู้ใช้สามารถ
    คลิกเลือกปุ่ม 
    แล้วเปลี่ยนเป็น ภาษาไทย (th) ได้
  • Character set : เป็นการกำหนดว่า ข้อมูลแต่ละไบต์ (ตัวอักษร) นั้นจะใช้ชุดตัวอักษรใด เว็บภาษาไทยทั่วไปจะกำหนดเป็น windows-874 ผู้ใช้สามารถคลิกเลือก
    ที่ปุ่ม 


เมื่อผู้ใช้สร้าง / เพิ่มหน้าเว็บเพจใหม่ขึ้นมาใช้งานทุกครั้ง ควรกำหนดคุณสมบัติของหน้าเว็บเพจทั้ง 5 ส่วนให้ครบ

การปรับแต่งพื้นหลัง
         ในการสร้างเว็บเพจนั้น ผู้ใช้สามารถกำหนดพื้นหลังได้จากการเลือกเมนู Format -> Page Colors and Background... ซึ่งจะแสดงหน้าต่างดังนี้
        
การกำหนดพื้นหลังของเว็บเพจนั้น สามารถกระทำได้
2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การกำหนดสีให้กับพื้นหลัง
ให้คลิกที่  หลังคำว่า  Background : แล้วเลือกสีตามต้องการ
(หากไม่สามารถคลิกเพื่อปรับเปลี่ยนสีได้ ให้ตรวจสอบว่า มีการเลือกท Use custom colors : หรือไม่)

รูปแบบที่ 2 การกำหนดรูปภาพเป็นพื้นหลัง
ให้คลิกที่  ในส่วนของ Background Image : เลือกตำแหน่งการเก็บรูปภาพและเลือกรูปภาพตามต้องการ

 Tip : รูปภาพที่จะนำมาใช้เป็นพื้นหลังนั้น
ควรมีขนาดความละเอียดเท่ากับหน้าเว็บเพจ
ที่ต้องการสร้าง

 
top

การบันทึกเว็บเพจ
        โดยปกติการบันทึกเว็บเพจนั้น หน้าแรกของเว็บไซด์หรือโฮมเพจควรจะบันทึกในชื่อว่า index.html
ส่วนรายละเอียดหรือเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการจัดระบบของผู้สร้างเว็บเพจ
        ขั้นตอนในการบันทึกเว็บเพจนั้นแบ่งได้เป็น 3 กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 การบันทึกเว็บเพจครั้งแรก
กรณีที่ 2 การเปิดเว็บเพจขึ้นมาแก้ไข
แล้วต้องการบันทึกเป็นชื่อใหม่
กรณีที่ 3 การเปิดเว็บเพจขึ้นมา
แก้ไขแล้วบันทึกไว้ในชื่อเดิม
เลือกเมนู File -> Save As...
หรือคลิกที่ปุ่ม 
เลือกเมนู File -> Save As...เลือกเมนู File -> Save
หรือคลิกที่ปุ่ม 


การปิดเว็บเพจ / การปิดโปรแกรม
    คำสั่งที่ใช้ในการปิดเว็บเพจ / ปิดโปรแกรมมีลักษณะเดียวกันกับที่ใช้ในโปรแกรมสำนักงานทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การปิดเว็บเพจที่ละหน้าการปิดเว็บเพจทั้งหมดการปิดโปรแกรม
เลือกเมนู File -> Close
หรือคลิกที่ปุ่ม  
เลือกเมนู File -> Close Allเลือกเมนู File -> Exit 
หรือคลิกที่ปุ่ม X บนแถบชื่อเรื่อง (Title Bar)

top


 Tip : คำสั่งคีย์ลัดสามารถสังเกตได้จากท้ายคำสั่งในแถบเมนู เช่น  แสดงว่า นอกจากจะใช้คำสั่ง File -> New เพื่อสร้างเว็บเพจใหม่แล้ว ยังสามารถใช้คำสั่ง Ctrl + N จากคีย์บอร์ดได้อีกด้วย
แถบเครื่องมือในการปรับแต่งข้อความ
      การจัดการข้อความในโปรแกรม KompoZer นั้นสามารถทำได้เหมือนกับโปรแกรมประมวลคำโดยทั่วไป 
ซึ่งมีแถบเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการดังนี้

แถบเครื่องมือหน้าที่
ใช้ในการกำหนดรูปแบบข้อความโดยใช้หลักมาตรฐานหลักของ HTML เช่น ข้อความปกติให้เลือก Body Text,  ส่วนที่เป็นหัวข้อให้เลือก Heading 1 - 6 เป็นต้น
ใช้ในการกำหนดตัวเลข 1,2,3,... และการใส่สัญลักษณ์หน้าข้อความ
ใช้ในการเพิ่ม / ลดย่อหน้าให้กับข้อความ
ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร (font) โดยทั่วไปรูปแบบตัวอักษรที่นิยมใช้ ได้แก่ MS Sans Serif , Tahoma
ใช้ในการกำหนดสีตัวอักษร สีพื้นหลังของตัวอักษร
และการเน้นข้อความ
ใช้ในการลด / เพิ่มขนาดตัวอักษร
ใช้ในการกำหนดตัวหนา / ตัวเอียง / ตัวอักษรขีดเส้นใต้
ใช้ในการจัดรูปแบบให้กับข้อความ
(ชิดซ้าย / กึ่งกลาง / ชิดขวา / ชิดขอบ)


แถบเมนูในการปรับแต่งข้อความ

หากต้องการปรับแต่งข้อความเพิ่มเติม สามารถเลือกเมนู Format -> ...  ได้ดังนี้

ตัวอย่างการเลือกใช้เมนู Format 
การกำหนดรูปแบบตัวอักษร
เลือกเมนู Format -> Font -> เลือกรูปแบบตัวอักษรการกำหนดขนาดตัวอักษร
เลือกเมนู Format -> Size -> เลือกขนาดตัวอักษร

การกำหนดลักษณะตัวอักษร (ตัวหนา, ตัวเอียง, ... )
เลือกเมนู Format -> Text Style -> เลือกลักษณะ
ตัวอักษร
การกำหนดสีให้ตัวอักษร
เลือกเมนู Format -> Text Color -> เลือกสีตัวอักษร

การจัดรูปแบบให้ข้อความ
เลือกเมนู Format -> Align -> เลือกรูปแบบ



การปรับแต่งสีของข้อความทั้งเว็บเพจ

        นอกจากการปรับแต่งสีของข้อความจากแถบเครื่องมือข้างต้นแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งสีของ
ข้อความทั้งเว็บเพจได้ โดยการเลือกเมนู Format -> Page Colors and Background... ซึ่งจะแสดงหน้าต่างดังนี้

     หากผู้ใช้ต้องการปรับแต่งสีของข้อความตาม
ความต้องการจะต้องคลิกเลือก Use custom colors :ก่อน
     หลังจากนั้น ควรเลือกปรับแต่งสีของข้อความให้แตกต่างกัน ตามรายละเอียดดังนี้

  • Normal text :
    การกำหนดสีให้กับข้อความปกติ
  • Link text : การกำหนดสีให้กับข้อความ
    ที่เป็นจุดเชื่อมโยงของเว็บเพจนั้น ๆ
  • Active link text :
    การกำหนดสีให้กับข้อความระหว่าง
    การคลิกเลือก
    จุดเชื่อมโยงนั้น
  • Visited link text :
    การกำหนดสีให้กับข้อความที่ได้เพื่อแสดงให
    เห็นว่าได้มีการคลิกเลือกจุดเชื่อมโยงนั้นแล้ว
  • Background :
    การกำหนดสีพื้นหลังให้กับเว็บเพจ

top
Tip :  โดยปกติหากต้องการขึ้นบรรทัดจะใช้วิธีการกดปุ่ม Enter
          แต่หากต้องการให้การจัดรูปแบบข้อความยังคงเหมือนเดิม ให้กดปุ่ม Shift + Enter แทน
ชนิดของรูปภาพที่นำมาใช้ในเว็บเพจ

         รูปภาพที่นำมาใช้ในการสร้างเว็บเพจนั้นควรมีขนาดเล็ก  เพื่อให้ผู้ชมสามารถดาวน์โหลดมาแสดงบน
เว็บบราวเซอร์ได้อย่างรวดเร็ว ภาพที่ใช้ในเว็บเพจนั้น มี 3 ชนิด ได้แก่
         1.  ภาพชนิด  jpeg  (Joint  Photographic  Export  Group) เป็นแฟ้มภาพที่มีความละเอียดของสีเหมือนกับรูปภาพจริงมากที่สุด เหมาะสำหรับภาพถ่ายบุคคล วัตถุ สิ่งของ หรือภาพวิว ธรรมชาติ  มีส่วนขยายเป็น  jpg
        2.  ภาพชนิด  gif  (Graphic  Interchange  Format)  เป็นแฟ้มภาพที่มีความละเอียดของสีไม่เกิน  256  สี  เหมาะสำหรับภาพการ์ตูน  ภาพเคลื่อนไหว  หรือตัวอักษร  มีส่วนขยายเป็น  gif
        3.  ภาพชนิด  png  (Portable  Network  Graphics)  สามารถแสดงสีได้มากกว่า  256  สี  การบีบอัดภาพน้อยกว่า  ภาพชนิด  jpeg  ทำให้แสดงผลได้เร็ว  แต่เว็บบราวเซอร์รุ่นต่ำ ๆ อาจแสดงผลไม่ได้

ขั้นตอนการแทรกรูปภาพลงในเว็บเพจ

        1.  คลิกเลือกเมนู  Insert -> Image...  หรือ  คลิกที่    บนแถบเครื่องมือ จะปรากฏหน้าต่าง Image Properties ดังนี้

คลล2.  เลือกที่แท็บ Location  คลิกที่   ในส่วนท้ายของ Image Location :  เพื่อค้นหาและเลือกรูปภาพจากแหล่งที่เก็บข้อมูล เมื่อเลือกรูปภาพได้แล้วในส่วนของ Image Preview จะแสดงตัวอย่างและขนาดของรูปภาพ

3. ให้เลือกตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งดังต่อไปนี้
   -  Altenate text : คือ การกำหนดให้มีข้อความ
ปรากฏเมื่อเลื่อนเมาส์มาวางบนรูปภาพนั้น
   -  Don't use altenate text :  ไม่ต้องการให้ปรากฏข้อความใด เมื่อเลื่อนเมาส์มาวางบนรูปภาพนั้น

4. คลิกปุ่ม   เพื่อแทรกรูปภาพในตำแหน่งที่ต้องการ

top


การกำหนดคุณสมบัติให้กับรูปภาพ

     ในระหว่างที่แทรกรูปภาพลงในเว็บเพจ  สามารถกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ดังนี้

การกำหนดขนาดของรูปภาพ
    ให้เลือกแท็บ  Dimensions  ผู้ใช้สามารถเลือกกำหนดขนาดของรูปภาพได้ 2 ลักษณะ
  • Actual Sizeกำหนดตามขนาดจริงของรูปภาพ
  • Custom Size
    กำหนดความกว้าง (Width) และความสูง (Height) ตามความต้องการของผู้ใช้
    หากต้องการให้รูปภาพปรับสัดส่วน
    ของความกว้างหรือความสูงให้คงที่
    เมื่อมีการกำหนดค่าอย่างใดอย่างหนึ่งใหม่ จะต้องคลิกเลือกที่ Constrain
การกำหนดตำแหน่งของรูปภาพ
    ให้เลือกแท็บ Appearance ผู้ใช้สามารถเลือกกำหนดตำแหน่งของรูปภาพได้ 4 ลักษณะ
  • Left and right :กำหนดตำแหน่งห่างจากขอบซ้าย
    และขอบขวา  มีหน่วยเป็น pixels
  • Top and Bottom :
    กำหนดตำแหน่งห่างจากขอบบน
    และขอบล่าง  มีหน่วยเป็น pixels
  • Solid Border :กำหนดความหนาของกรอบภาพ
    มีหน่วยเป็น pixels
  • Align Text to Image :กำหนดการจัดตำแหน่งระหว่างข้อความ
    และภาพ

 Tip :  หากต้องการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของภาพในภายหลังจากแทรกรูปภาพเรียบร้อยแล้ว
         สามารถคลิกขวา เลือก Image Properties...

ขั้นตอนการแทรกตารางลงในเว็บเพจ

     1.  คลิกเลือกเมนู  Table -> Insert -> Table...  หรือ  คลิกที่    บนแถบเครื่องมือ จะปรากฏหน้าต่าง Insert Table ดังรูป

     2. ในการแทรกตารางสามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

    2.1  ให้เลือกแท็บ Quickly หากต้องการกำหนด
ขนาดของตารางอย่างรวดเร็ว โดยการเลื่อนเมาส์ใน
ตาราง และทำการคลิกเมาส์ เมื่อเลือกจำนวนเซลล์ของตารางได้ตามต้องการ
   
     2.2  ให้เลือกแท็บ Precisely
หากต้องการกำหนดขนาดของตารางตามความต้องการของผู้ใช้ โดยใส่จำนวนแถวในส่วนของ Rows: และใส่จำนวนคอลัมน์ในส่วนของ Column:
    ผู้ใช้สามารถกำหนดขนาดความกว้างของตารางในช่อง Width: โดยจะกำหนดค่าตัวเลขตามหน่วย pixels หรือ ตามค่า % ของเซลล์ก็ได้  และนอกจากนี้สามารถกำหนดความหนาของเส้นตารางได้ในส่วน Border: โดยสามารถใส่ตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 - 10
(0 หมายถึง จะไม่ปรากฏเส้นตารางเมื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์)


การจัดการตารางในเว็บเพจ
     ไม่ว่าจะเลือกการสร้างตารางแบบใดก็ตามจะปรากฏตารางในหน้าเว็บเพจ ดังตัวอย่างนี้

     การเพิ่มจำนวนคอลัมน์ สามารถทำได้ดังนี้
     วิธีที่ 1 สามารถคลิกได้ที่หัวลูกศรทั้งสองด้าน  ถ้าคลิกที่หัวลูกศรด้านซ้ายจะเป็นการเพิ่มคอลัมน์ไปทางด้านซ้ายอีก 1 คอลัมน์ หรือถ้าคลิกที่หัวลูกศรทางด้านขวาจะเป็นการเพิ่มคอลัมน์ไปทางด้านขวาอีก 1 คอลัมน์
     วิธีที่ 2 สามารถคลิกเมนู  Table -> Insert -> Column Before เมื่อต้องการเพิ่มคอลัมน์ไปทางซ้าย หรือคลิกเมนู  Table -> Insert -> Column After เมื่อต้องการเพิ่มคอลัมน์ไปทางขวา

     การเพิ่มจำนวนแถว สามารถทำได้ดังนี้
     ิธีที่ 1 สามารถคลิกได้ที่หัวลูกศรทั้งสองด้าน  ถ้าคลิกที่หัวลูกศรด้านบนจะเป็นการเพิ่มแถวด้านบนอีก 1 แถว หรือถ้าคลิกที่หัวลูกศรทางด้านล่างจะเป็นการเพิ่มแถวด้านล่างอีก 1 แถว
     ิธีที่ 2 สามารถคลิกเมนู  Table -> Insert -> Row Above เมื่อต้องการเพิ่มแถวด้านบน หรือคลิกเมนู  Table -> Insert -> Row Below เมื่อต้องการเพิ่มแถวด้านล่าง

     การเพิ่มเซลในตาราง สามารถทำได้ดังนี้
     คลิกเมนู  Table -> Insert -> Cell Before เมื่อต้องการเพิ่มเซลด้านซ้าย หรือคลิกเมนู  Table -> Insert -> Cell After เมื่อต้องการเพิ่มเซลด้านขวา

      การผสาน / รวมเซลในตาราง สามารถทำได้ดังนี้
     เลือกเซลที่ต้องการ แล้วคลิกเมนู  Table -> Join with Cell to the Right     การยกเลิกการผสานเซลในตาราง สามารถทำได้ดังนี้
     เลือกเซลที่ได้มีการใช้คำสั่งผสานเซลไปแล้ว คลิกเมนู  Table -> Split Cell
     การลบคอลัมน์ / แถว สามารถทำได้ดังนี้
     ิธีที่ 1 สามารถคลิกได้ที่    ที่อยู่ระหว่างหัวลูกศรทั้งสองด้าน
     ิธีที่ 2 สามารถคลิกเมนู  Table -> Delete -> Column(s) หรือ Row(s)


    การลบเฉพาะเนื้อหาที่อยู่ในเซลนั้น 
    ให้คลิกเมนู Table -> Delete -> Cell Contents

    การลบเซล 
    ให้คลิกเมนู Table -> Delete -> Cell(s)

    การลบตาราง 
    ให้คลิกเมนู Table -> Delete -> Table

          
top

การปรับแต่งสีพื้นของตาราง
        ในการตกแต่งตาราง ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสีพื้นหลังทั้งตาราง หรือจะเลือกปรับแต่งเฉพาะเซลก็ได้ ขั้นตอนในการใส่สีพื้นหลังมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเมนู Table -> Table or Cell Background Color...2. เลือกว่า ต้องการปรับแต่งสีพื้นหลังทั้งตาราง (Table) หรือจะเลือกปรับแต่งเฉพาะเซล (Cell(s))

3. คลิกเลือกสีที่ต้องการ หลังจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม 

        Tip :  คำสั่งในการจัดการตารางทั้งหมดสามารถเลือกใช้จากการคลิกเมาส์ขวาได้อีกวิธีหนึ่ง
                   และหากต้องการปรับแต่งตารางเพิ่มเติมให้คลิกเลือกเมนู  Table -> Table  Properties..
 การสร้างจุดเชื่อมโยงให้กับเอกสารจะทำให้เกิดโครงข่ายเอกสารคล้ายกับโครงข่ายของใยแมงมุง ที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างไม่มีวันสิ้นสุด  การสร้างจุดเชื่อมโยงมี 3 ลักษณะ ดังนี้


การสร้างจุดเชื่อมโยงภายในเว็บเพจเดียวกัน

      สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
     1.  กำหนดตำแหน่งที่เป็นจุดอ้างอิงในหน้าเว็บเพจเดียวกัน  (ตำแหน่งที่ต้องการให้แสดงภายหลังจากการคลิกที่จุดเชื่อมโยง) ซึ่งสามารถทำได้โดยการคลิกที่หน้ารูปภาพหรือหน้าข้อความที่ต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม   จะปรากฏหน้าต่างดังรูป

      2. ให้พิมพ์ชื่อจุดอ้างอิงดังกล่าว หลังจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม 

 Tip :  หากหน้าข้อความหรือรูปภาพใดที่มีสัญลักษณ์  
แสดงว่ามีการกำหนดจุดอ้างอิงไว้แล้ว
    3.  เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการสร้าง
จุดเชื่อมโยง ซึ่งอาจจะเป็นรูปภาพหรือ
ข้อความก็ได้ คลิกที่ปุ่ม  จะปรากฏหน้าต่าง Link Text ดังรูป

   4.  ให้คลิกที่  เพื่อเลือกชื่อจุดอ้างอิงที่เคยกำหนดไว้ ซึ่งในที่นี้ก็ คือ p71 หลังจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม 
top


การสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น
     
สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
     1.  จัดเตรียมไฟล์ที่ต้องการเชื่อมโยง
คลิกรูปภาพหรือข้อความที่จะเป็นจุดเชิ่อมโยง

     2.  คลิกที่ปุ่ม 
 จะปรากฏหน้าต่าง Link Text ดังรูป

     3.  คลิกที่ปุ่ม   เพื่อค้นหาไฟล์ที่ต้องการ หรือจะพิมพ์ชื่อไฟล์ก็ได้

     4.  ให้คลิกที่ปุ่ม 
 top

การสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังเว็บไซด์อื่น
     
สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
     1. จัดเตรียมชื่อโดเมนเนมของเว็บไซด์ที่ต้องการเชื่อมโยง  คลิกรูปภาพหรือข้อความที่จะเป็น
จุดเชิ่อมโยง


     2.  คลิกที่ปุ่ม 
 จะปรากฏหน้าต่าง Link Text ดังรูป

     3.  พิมพ์ชื่อโดเมนเนมของเว็บไซด์ที่ต้องการ

     4.  ให้คลิกที่ปุ่ม 
 Tip : หากต้องการเชื่อมโยงไปยังอีเมล์ก็
สามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้
top
 Tip : ในส่วนของการสร้างจุดเชื่อมโยงที่เป็นข้อความ ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสีตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกันได้ สามารถศึกษารายละเอียดในบทที่ 4 การจัดการข้อความ ในหัวข้อ การปรับแต่งสีข้อความ
ขั้นตอนการทำโครงงานเว็บไซด์
      
1. ศึกษาขั้นตอนในการใช้โปรแกรม KompoZer ในการสร้างเว็บเพจ (บทเรียนที่ 1 - 7) รวมทั้งฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมลองทำดูให้เข้าใจทุกบทเรียน
      2. ศึกษาข้อเสนอแนะในการสร้างเว็บเพจ ให้เข้าใจ
      3. สำรวจข้อมูล  โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มนั้นจะต้อง ไปศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น  การอ่านหนังสือ, วารสารในห้องสมุด, การสัมภาษณ์บุคคล, การประกอบอาชีพ
และสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่นของตนเอง, สถานสำคัญต่าง ๆ, อินเตอร์เน็ต เป็นต้น พร้อมทั้งจดบันทึกถึง
สิ่งที่นักเรียนสนใจ
      4.  ให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่ม เขียนแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากจะนำมาสร้าง
เป็นเว็บไซด์  โดยจะต้องระบุถึงแนวคิด ที่มาของปัญหา,  วัตถุประสงค์,  หัวข้อ / เนื้อหาที่จะปรากฏในเว็บไซด์, ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับภายหลังจากการทำโครงงานเว็บไซด์เรื่องนี้
      5.  นำแผนผังของเพื่อน ๆ นักเรียนภายในกลุ่มของตนเองมาอภิปรายและวิเคราะห์เลือกหัวข้อเรื่องที่จะนำมา
ทำโครงงาน (อาจจะใช้ตารางการวิเคราะห์เพื่อเลือกหัวข้อในการทำโครงงาน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ)
      6.  นำแผนผังความคิดที่เลือกได้ มาปรับปรุงและเขียนเค้าโครงตามหัวข้อต่อไปนี้
            6.1  ชื่อเรื่อง
            6.2  ชื่อผู้ทำโครงงาน
            6.3  ชื่อครูที่ปรึกษา
            6.4  แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
            6.5  วัตถุประสงค์
            6.6  หลักการและทฤษฎีที่ใช้
            6.7  วิธีดำเนินงาน
            6.8  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            6.9  เอกสารอ้างอิง
      7.  นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนำเสนอต่อครูที่ปรึกษา  ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
      8.  ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความก้าวหน้าของการทำโครงงานและให้คำแนะนำแก่นักเรียน
      9.  จัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอผลงานของนักเรียน (อาจจะเชิญชวนให้ครูท่านอื่น ๆ รวมทั้งนักเรียนในระดับชั้นอื่น ๆ เป็นผู้ประเมินผลงาน)
      10. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงงาน ตามหัวข้อต่อไปนี้
            10.1  ชื่อเรื่อง
            10.2  ชื่อผู้ทำโครงงาน
            10.3  ชื่อครูที่ปรึกษา
            10.4  บทคัดย่อ
            10.5  คำขอบคุณ (กิตติกรรมประกาศ)
            10.6  แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
            10.7  วัตถุประสงค์
            10.8  หลักการและทฤษฎีที่ใช้
            10.9  วิธีดำเนินงาน
            10.10 ผลการดำเนินงาน
            10.11 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
            10.12 ผลที่ได้รับจากการทำโครงงานชิ้นนี้
            10.13 เอกสารอ้างอิง
      
 Tip : ในขั้นตอนของการทำโครงงานเว็บไซด์นี้ควรศึกษาในชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม


ข้อแนะนำในการสร้างเว็บเพจ

           ในการสร้างเว็บเพจมีองค์ประกอบหลายประการที่จะทำให้เว็บเพจนั้น่าสนใจ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
           1. เลือกกลุ่มเป้าหมาย ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นคนกลุ่มใด ระดับความรู้เท่าใด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของเว็บเพจ
           2. เลือกเนื้อหาและปริมาณข้อมูล ควรเลือกนำเสนอเนื้อหาที่ดี น่าสนใจและมีการปรับปรุงข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ การใส่ข้อมูลปริมาณมากจนเกินไป จะทำให้เว็บเพจดูหนาแน่น ไม่ดึงดูดความสนใจ
           3. ออกแบบโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล การกำหนดโครงสร้างข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่จะทำให้ดูแลรักษาเว็บได้ง่าย เป็นระเบียบ สามารถตรวจสอบความผิดพลาดของเว็บเพจได้ง่าย
           4. เว็บเพจจะต้องแสดงผลได้กับเว็บบราวเซอร์หลายชนิด  เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้ควรจะถูกรองรับโดยเว็บบราวเซอร์ รวมทั้งการเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรภาษาไทย เนื่องจากบางเว็บบราวเซอร์ไม่สามารถแสดงผลภาษาไทยได้
           5. ความเร็วในการโหลดเว็บเพจ  ถ้าการโหลดเว็บเพจใช้เวลานาน จะทำให้ผู้ชมหมดความอดทนที่จะรอชม ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วในการโหลดเว็บเพจ ได้แก่ ขนาดและจำนวนของรูปภาพที่ใช้ เทคนิคใหม่ ๆ รวมถึงปริมาณของตัวอักษรที่อยู่ในหน้านั้น
           6. ความง่ายในการค้นหาข้อมูล  การย้อนกลับไปหน้าก่อนและหลัง หรือ การกลับไปจุดเริ่มต้นควรจะมีอยู่ทุกหน้า เพื่อให้การท่องเว็บสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
           7. การเลือกใช้ตัวอักษร ฉากหลัง และสี  การเลือกใช้โทนสีจะต้องให้เข้ากับเนื้อหาสาระ ไม่ควรใช้
สีฉูดฉาดเป็นพื้นหลัง การเลือกใช้ลักษณะและขนาดของตัวอักษรก็เป็นสิ่งสำคัญ ขนาดตัวอักษรที่ใหญ่หรือเล็ก
จนเกินไป จะทำให้องค์ประกอบโดยรวมของเว็บนั้นเสียไป
           8. ขนาดและชนิดของรูปภาพ  รูปภาพที่นิยมใช้ในเว็บเพจมักมีส่วนขยายของแฟ้มเป็น gif และ jpeg เพราะมีขนาดเล็กและสามารถโหลดได้เร็ว
           9. ส่วนประกอบเพิ่มเติม ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดทำ อีเมล์ วันเวลาที่ทำการแก้ไขเว็บเพจ รวมถึง
เว็บไซด์อื่น ๆ ที่น่าสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้
           10. ตรวจสอบเว็บเพจก่อนนำเสนอ ควรตรวจสอบกับเว็บบราวเซอร์ชนิดต่าง ๆ และควรมีข้อความ
แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่า เว็บเพจนี้เหมาะสมกับความละเอียดของภาพเท่าใด 640 x 480 pixels หรือ 800 x 600 pixels เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น