วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการเรียนการสอนในอนาคต+เทคโนโลยี (ของฉัน)

“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
สืบเนื่องจากปัจจุบันเกิดเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างถาโถม และมีความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามานั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในอนาคตถ้าหากเรายังเกิดการพัฒนาของเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆจนเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกๆช่วงของมนุษย์ (ยิ่งสำหรับเยาวชนในอนาคต) แล้ว อาจส่งผลให้เกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี เยาวชนในอนาคตอาจจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีตลอด เกิดการเสพติดขาดเทคโนโลยีไม่ได้ เกิดภาวะไม่พึ่งพาตนเอง และพึ่งพาตนเองไม่ได้และถ้าเป็นแบบนี้ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟดับ หรือเทคโนโลยีไม่สามารถใช้การได้ พวกเขาจะกลายเป็นคนที่ทำอะไรไม่เป็น พึ่งตนเองไม่ได้ ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติสุขได้ เกิดปัญหาต่างๆตามมา

ข้อดีข้อเสียจากการ ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างไร้ขีดจำกัดในอนาคต
            *ตัวอย่างเช่น
1.การให้นักเรียนชั้นประถมศึกษา ได้ใช้ Taplat แทนหนังสือ และ มีบทบาทสำคัญมากกว่าหนังสือ
ข้อดี ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ก้าวทันโลก มีการเรียนรู้แต่เด็กเล็กเพื่อให้เป็นการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย ทันสมัยต่อเทคโนโลยีและทันต่อสังคมโลกสากล และเป็นการ
ข้อเสีย ทำให้นักเรียนอยู่กับเทคโนโลยีมากจนเกินไป ในวัยประถมควรได้รับการพัฒนาการเขียน จากการเขียนหนังสือมากกว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยี แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่การเรียนการสอนของเราไปสนับสนุนเทคโนโลยีมากจนเกินไปจะส่งผลให้นักเรียนกลายเป็นคนที่ติดเทคโนโลยี ติด Taplat อนาคตอาจจะไม่มีหนังสืออีกต่อไป แต่เป็นการนำ Taplat มาใช้
2.การติดต่อสื่อสาร ส่งงาน ผ่านทาง Social network หรือการ Chat , Msn , Facebook ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือ Taplat
ข้อดี ทำให้ครูและนักเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย สะดวก และทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเดินทางพบปะกัน
ข้อเสีย ทำให้ครูและนักเรียนอยู่กับเทคโนโลยีมากจนเกินไป จนถึงขนาดเสพติด Socail network online อยู่กับโลกOnline ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง มีพฤติกรรมพึ่งพาเทคโนโลยีมากจนเกินพอดี  บ้างนำไปใช้ในทางที่ผิด บ้างใช้ผิดที่ผิดเวลา ให้เกิดปัญหาอื่นๆทางสังคมตามมา เช่น เกิดอุบัติเหตุเพราะมัวแต่ Chat ผ่านโทรศัพท์มือถือ มีเวลาให้กับคนรอบข้างน้อยลง ถ้าในการเรียนการสอน ครูหรือนักเรียนติด Social อาจส่งผลต่อการเรียนการสอนในทางที่ย่ำแย่ บางเป็นต้น
3.การมีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ค้นคว้าการศึกษาได้อย่างง่ายดาย
ข้อดี ทำให้รับรู้ข่าวสารได้ไว สื่อต่างๆเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว
ข้อเสีย สื่อที่ไม่ดี เช่นสื่อลามกอนาจาร เว็บไซด์หมิ่นต่างๆ ก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ข่าวสารในอนาคตอาจต้องใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ให้มากขึ้น เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายและง่ายต่อการปลอมแปลง แอบอ้าง หรือปลอม หลอก เท็จ มากขึ้น
4.การมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเรียนการสอนทำให้นักเรียนสบายมากยิ่งขึ้น นักเรียนพึ่งพาแต่เทคโนโลยี มีโปรแกรมช่วยอ่าน ช่วยแปลภาษา โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย นักเรียนส่วนใหญ่ใช้การพิมพ์งานส่งแทนการเขียนจด นักเรียนส่วนใหญ่ใช้การวาดภาพในระบบคอมพิวเตอร์ แทนการวาดภาพด้วยมือ ครูส่วนใหญ่ไม่เคยแม้แต่จะเขียนกระดานดำเลย ใช้สไลด์จากเทคโนโลยีเข้ามาในการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเห็นภาพตัวอย่าง แต่ไม่ใช่เห็นภาพจากสถานที่จริง เพื่อเป็นการสะดวกรวดเร็วและประหยัดในการศึกษา บางคนไม่ต้องมาเรียนนั่ง Chat เรียนผ่านทางไกลในบ้าน
ข้อดี ทำให้นักเรียนหรือครูสะดวกในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย ทำให้ครูหรือนักเรียนไม่ค่อยพึงพาตนเอง เริ่มทำอะไรไม่เป็น กลายเป็นคนขี้เกียจ ไม่ได้ศึกษาหาความรู้ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง ทำเพียงแค่มีส่งๆ ไม่ได้เกิดองค์ความรู้ที่จดจำไว้ในสมองหลักได้เลย ครูหรือนักเรียนบางคนนำความรู้จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปใช้ในทางที่ผิด
5.การมีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้การศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปโดยจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีตลอดเวลา
ข้อดีทำให้นักเรียนรู้จักใช้เทคโนโลยีได้อย่างก้าวทันโลก
ข้อเสีย ทำให้นักเรียนไม่ค่อยพึ่งพาตนเอง ต้องอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยอยู่เสมอๆจนถึงขั้นขาดเทคโนโลยีจะทำงานไม่ได้เลย ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่นไฟดับ ไม่มีไฟฟ้าใช้ เด็กในอนาคตนั้นคงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเองไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ไม่สามารถเรียนรู้โดยไม่พึ่งพาเทคโนโลยีได้ ไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติได้หากไม่มีไฟฟ้า หากไม่มีเทคโนโลยี


*ในอนาคต จะมีสักกี่คนที่ยังเห็นความสำคัญของหนังสือ
*ลองคิดเล่นๆดู ถ้าโลกเราไม่มีไฟฟ้าใช้ คุณจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร???
ฯลฯ เป็นต้น
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนรวมจนไปถึงการเรียนการสอนนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาทางความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ และสิ่งที่สำคัญข้อเสียของเทคโนโลยีก็สามารถทำลายความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ อาจจนไปถึงขั้นเสื่อมโทรม เลวทราม ถดถอย ก็เป็นไปได้ หากเรายังใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด เกินความพอดีมากเกินไป และหากจะต้องเริ่ม จึงควรเริ่มจากเด็กเล็กๆ โดยปลูกฝังในการเรียนการสอน ดังนั้น จึงอยากนำเสนอ นวัตกรรมการเรียนกับเทคโนโลยีการสอนแบบใหม่ Enough Technology-learning

Enough Technology-learning
การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีอย่างพอเพียง
เป็นแนวความคิด นวัตกรรมการเรียนการสอนแบบใหม่ในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นเป็นอย่างไม่มีประสิทธิภาพ นักเรียนไม่สามารถได้รับความรู้เท่าที่ควร เพราะเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบทในการเรียนการสอน ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย บางอย่างส่งผลร้ายต่อการเรียนรู้ของเด็กมากกว่าส่งผลดี ถ้าเราเลือกเอาเฉพาะส่วนดีของเทคโนโลยี และนำมาปรับปรุงกับการเรียนการสอนแบบเก่าที่ดีๆ เราก็จะได้การเรียนการสอนแบบพอเพียง ที่การเรียนการสอนนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างลงตัว พอดีและพอเพียง ไม่ใช่เทคโนโลยีเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต




*ตัวอย่างเช่น
1.การให้นักเรียนชั้นประถมศึกษา ได้ใช้หนังสือเป็นหลัก เพื่อฝึกทักษะการอ่านเขียน ควบคู่ไปกับเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีอย่างพอดี เพื่อเป็นประโยชน์ในการเสริมทักษะความสามารถทางด้านเทคโนโลยี เป็นพื้นฐานในการต่อยอดการใช้เทคโนโลยีให้แน่นขึ้นสู่ขั้นมัธยม ไปจนถึงขั้นสูงสุด คือปริญญาตรี
2.ส่งเสริมการติดต่อสื่อสาร ส่งงาน ผ่านทาง Social network หรือการ Chat , Msn , Facebook ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือ Taplat ได้ เพราะสะดวก แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงอยู่ในความพอดี และบางอย่างยังสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสำหรับการศึกษาค้นคว้าทำให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองง่ายขึ้นและไม่ลืมที่จะปลูกฝังให้เด็กค้นคว้าด้วยหนังสือไปด้วย เพราะในหนังสือนั้นมีองค์ความรู้ที่แน่นมากกว่าโลกออนไลน์ น่าเชื่อถือมากกว่าในโลกออนไลน์ ยังจัดการเรียนการสอนอย่างปกติเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านสื่อการสอนอื่นๆที่สามารถสัมผัสได้ด้วย ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนการสอนผ่าน Social เพราะใน Socail คุณไม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กจะเข้าใจได้จริงหรือไม่ ทำได้หรือเปล่า เรียนหรือศึกษาจริงหรือเปล่า หรือเพียงแค่ copy แล้วส่งครูซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นเด็กจะไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง
3.ปลูกฝังให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์พิจารณาข่าวสาร ข้อความ บนโลกออนไลน์ หรือเทคโนโลยีให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีที่อันตราย
4.ปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน และการเรียนการสอน ให้รู้และเข้าใจนำไปปฏิบัติในสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเขา สิ่งที่ไม่ดีจะทำให้เขาไม่ได้เกิดการเรียนรู้
5.ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการพึ่งพาตนเองโดยไร้เทคโนโลยี เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การเขียนหนังสือ การหุงหาอาหารแบบสมัยก่อน การซักผ้าโดยไม่ต้องใช้เครื่องซักผ้า การเย็บปักถักร้อยด้วยมือ การวาดภาพ ปั้น ศิลปะ เป็นต้น



ฯลฯ เป็นต้น

*ประโยชน์ของนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบ Enough Technology-learning
            ส่งเสริมและทำให้เกิดการเรียนการสอนแบบพอดี รู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัดอย่างพอดี โดยที่ธรรมชาติของการเรียนรู้กับเทคโนโลยีค่อยๆก้าวไปอย่างพร้อมๆกัน จึงทำให้ผลเสียที่ตามมามีน้อย เกิดการรักษาการเรียนรู้แบบเก่าๆที่ดี ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มากด้วยเทคโนโลยีจนเกินไป ทำให้ผู้เรียนเกิดภาวะพึ่งพาตนเองได้หากไร้เทคโนโลยี ส่งผลให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่อย่างปกติ มีความสุขกับโลกของชีวิตจริงมากขึ้น ตระหนักถึงข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น รู้จักการคิดพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม ควบคู่ไปกับการลงมือปฏิบัติพึ่งพาตนเองได้ เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงพร้อมกับก้าวทันเทคโนโลยีอย่างพอดี ส่งผลต่อเยาวชนในอนาคตรุ่นหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น