วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยว


เขาชีจรรย์


          เขาชีจรรย์ เป็นเขาหินปูน เดิมมีการระเบิดหินนำไปใช้ในการก่อสร้าง ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเสียดายลักษณะภูมิทัศน์อันสง่างามของเขาลูกนี้ จึงมีพระดำริที่จะอนุรักษ์ไว้ และได้ดำเนินการสร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะของพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุด ในโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ.2539 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปนี้ว่า "พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา" แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรืองสว่างประเสริฐดุงดังมหาวชิระ

          พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา มีความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร ฐานบัวหรือบัลลังก์สูง 21 เมตร รวมความสูงขององค์พระและบัลลังก์ทั้งสิ้น 130 เมตร โดยเป็นการระเบิดเจาะเนื้อหินให้เป็นลายเส้น แล้วใช้โมเสกทองประดับเข้าไปตามรอยเส้น เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาต้องหน้าผา จึงเกิดประกายสีทองราวกับองค์พระกำลังเปล่งประกาย ด้านหน้าองค์พระมีลานอเนกประสงค์ สวนร่มรื่น สระบัว และสวนหิน ในเนื้อที่ 15 ไร่
          
          ประวัติการสร้าง 
จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมี
ความ สูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหิน
ฟิล ไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอา
วา สวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่อ
อยู่ คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถาน
สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดย
คณะ กรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปาง
มารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความ
สูง ขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
พระ ราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ " 

         ขั้นตอนการสร้าง
 การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้าง
พระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา
เขาชีจรรย์ การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชน
ที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์
ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ
และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นของ
องค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะ
ที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์
เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อ
การมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสง
เลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็
ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่
31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร
และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป  


ที่ตั้ง : บ้านเขาชีจรรย์ อำเภอสัตหีบ ห่างจากวัดญาณสังวราราม ไปประมาณ 5 กิโลเมตร
          การเดินทาง : จากวัดญาณสังวราราม ไปตามทางเดียวกับวิหารเซียน ผ่านวิหารเซียนไปตามเส้นทางหลัก และมีป้ายบอกทางไปอีก 3 กิโลเมตร หรือจากถนน       
                              สุขุมวิท เข้าทางแยกที่เลยแยกวัดญาณสังวรารามไปราว 500 เมตร  เส้นทางจะตรงถึงเขาชีจรรย์ ระยะทางจากถนนสุขุมวิท 6 กิโลเมตร
          เวลาทำการ : 06.00-18.00 น. ทุกวัน
          ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม

ที่มา : http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=17632