วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

twitter


Twitter

ทวิตเตอร์ (อังกฤษTwitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต (อังกฤษTweet) ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง

   ทวิตเตอร์มีต้นกำเนิดจากการระดมความคิด ที่ถูกจัดขึ้นโดยบริษัทโอดีโอ ซึ่งเป็นบริษัทพอดแคสติง โดยดอร์ซี เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้แนะนำวามคิดการส่งบริการข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส (SMS) พูดคุยและสนทนากันภายในกลุ่มเล็ก ๆ[18][19] ช่วงแรกโค้ดเนมของบริการนี้มีชื่อว่า twttr ซึ่งวิลเลียมส์ได้แนะนำให้กับโนอาห์ กลาส[20] โดยชื่อในรูปแบบนี้มีแรงบันดาลใจมากจากฟลิคเกอร์ (Flickr) และมีเพียง 5 ตัวอักษรคล้ายกับการส่งข้อความสั้นแบบชื่อย่อของชาวอเมริกัน ในช่วงแรกนั้น นักพัฒนาได้กำหนดหมายเลข "10958" เป็นรหัส แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "40404" เพื่อความสะดวกในการใช้งาน[21] การทำงานของโครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 เมื่อดอร์ซี ได้ทำการส่งทวีตแรกเมื่อเวลา 21:50 น. ตามเวลาท้องถิ่น ด้วยคำว่า "just setting up my twttr"[1]
"...เราได้คำว่า 'ทวิตเตอร์' และมันสุดยอด มันคือการส่งข้อมูลด้วยข้อความสั้น เหมือนกับส่งด้วยนก ซึ่งบ่งบอกถึงว่าผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร" – แจ็ก ดอร์ซี[22]

ต้นแบบของทวิตเตอร์ถูกนำมาใช้สำหรับพนักงานในบริษัทโอดีโอ และได้เผยแพร่ต่อสาธารณะในรุ่นสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[23] ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 บิซ สโตน, อีวานส์ วิลเลียมส์, แจ็ก ดอร์ซี และพนักงานของบริษัทโอดีโอ ได้ถูกโอนหุ้นทั้งหมดมาที่อ็อปวีโออุส รวมถึงเว็บไซต์ โอดีโอ.คอม และทวิตเตอร์.คอม ด้วย[24] วิลเลียมส์ได้ถูกไล่ออก ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งกับทวิตเตอร์จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2554[25] และทวิตเตอร์ได้แยกออกมาตั้งเป็นบริษัทของตนเองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550[26]
จุดเริ่มต้นของจำนวนการใช้งานทวิตเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น คือในงานเซาธ์บายเซาธ์เวสต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ SXSW ซึ่งจัดขึ้นในเมืองออสติน รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างงาน การใช้งานทวิตเตอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจาก 20,000 ทวีตต่อวัน เป็น 60,000 ทวีตต่อวัน[27] ซึ่งมีส่วนเพราะการวางจอพลาสมาขนาด 60 นิ้วจำนวน 2 จอในทางเดินระหว่างงาน และจอจะแสดงทวีตที่ผู้ใช้งานทวีตเข้าสู่ระบบ โดยสตีเวน เลวี นักข่าวจากนิตยสารนิวส์วีก ได้กล่าวว่า "งานประชุมนับร้อยงาน ที่จะใช้ระบบทวิตเตอร์นี้ โดยที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วผ่านการเมนชัน"[28]






ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki
          http://www.youtube.com/watch?v=G1PFbjQFnPo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น